วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนเตรียมฝึกวิชาชีพการบริหารธุรกิจ3

ผมได้รับจากการเรียนเตรียมฝึกอย่างแรกคือการแต่งตัวอย่างถูกระเบียบ เช่นการใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยยัดใส่กางเกง ส่วนกางเกงงั้นก็จะไม่ขาเดฟ เน็ทไทผูกเรียบร้อบไม่หลุดออกจากคอปก ส่วนผมตัดนั้นตัดสั้นลง และส่วนสำคัญคือรองเท้านั้นใส่รองเท้าคัดชูอย่างถูกระเบียบ

อย่างที่สองคือ การตรงต่อเวลา เช่นผมนั้นต้องมาเรียนก่อนบ่ายสองโมงครึ่งเพื่อที่จะได้เข้าแถวพร้อมกับเพื่อนๆ แต่ก็มีบางคนนั้นก็มาสายบ้างโดยบ้างคนนั้นคิดว่ามาสายนั้นจะต้องมีเพื่อนๆที่มาสายกว่าเราอีก

อย่างที่สามคือ บุคคลิกภาพที่ดี โดยบุคคลิกภาพนั้นผมจะเป็นคนนั่งหลังค่อม ทำให้เราเสียบุคคลิกภาพนั้น โดยที่เรียนวิชาเตรียมฝึกนั้น จะทำให้เรามีบุคคลิกภาพที่ดีไม่นั้งหลงค่อม เดินตัวตรง พูดจาไม่ติดคัด ภาษาถูกต้องในการพูด เป็นคนกล้าแสดงออกมากขึ้น ยิ้มแย้มร่าเริง

เตรียมความพร้อมเพื่อการการฝึกงานอย่างมืออาชีพและปัจฉิมนิเทศ

ได้นิมนต์พระอาจารย์สมพงษ์ ซึ่งเป็นทีมงานพระมหาสมปองได้ให้ข้อคิดหลายอย่าง คือ

1.เวลาเลือกสิ่งใด ให้เรามีความสุขในสิ่งที่เราเลือก

2.ทำวันนี้ให้ดี่ที่สุด วันหน้าก็จะได้ดี

3.ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ อยู่ที่เราจะแก้ด้วยวิธีใด

4.ชีวิตที่มีค่า ไม่ใช่ชีวิตที่ร่ำรวย มีเกียรติ แต่ชีวิตที่มีค่าจะอยู่ที่ตัวเราทำให้เราเห็นคุณค่าของตัวเราเอง และคุณค่าของคนอื่น

ขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04 14/07/2552

(Set & String)

โครงสร้างข้อมูลแบบเสร็จ
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน ในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูล เหมือนกับในภาษาปาสคาล แต่สามารถใช้หลักการแบบเซ็ตมาใช้ได้

ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operstors)
ประกอบด้วย
Set intersection
Set union
Set difference เป็นต้น

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น
จะต้องกำหนดเซ็ดของผู้เรียนที่ลงทะเบียนในแต่ละวิชา นำเซ็ตที่ได้ดังกล่าวมา intersection กัน หากมีเซ็ดใดที่ทำการ intersection กันแล้วสมาชิกซ้ำกัน จะไม่สามารถจัดอยู่ในวันเวลาเดียวกันได้ โครงสร้างข้อมูลแบบสติง (สติง) หรือ สติงของอักขระ เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้สย ตัวอักษรตัวเลขและเครื่องหมายเรียงติดต่อกัน รวมถึงช่องว่าง สติง กับ อะเรย์ สติง คืออะเรย์ของอักขระ เช่น char a[6]

การกำหนดสติง
1. กำหนดค่าตรงตัว
2.กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์ เช่น "This is String " จะเป็นข้อมูลแบบสติงยาว 16 อักขระ การกำหนดตัวแปรสติง อาศัยหลักการของอะเรย์ เพราะสติงก็คือ อะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character(\0) ฟังชันget() เป็นฟังชันที่อ่านค่าจากแป้นพิมพ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งก็คืออะเรย์ที่ตัวแปรเนมชี้อยู่ หากใช้ scanf() จะถือว่าเจมส์เป็นค่าหนึ่ง และ smite เป็นอีกค่าหนึ่ง อะเรย์ของสติงที่ยาวไม่เท่ากัน ทำได้เฉพาะเมื่อมีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่านั้น อะเรย์ของสติงที่ยาวเท่ากัน ในลักษณะนี้ถือว่าเป็นอะเรยืที่แท้จริงและสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น เช่น char[3][7]={"Apple","Orange","Mango"}; กำหนดตัวแปร fruit เป็นแบบ 3 แถว 7 คอลัมน ฟังชัน puts() ใช้ในการพิมพ์สติงออกทางจอภาพ โดยการผ่านแอดเดรสของสติงไปให้เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03 30/06/52

อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก

อาร์เรย์ 1 มิติเป็นตัวแปรที่เก็บข้อมูลเพียงแถวเดียวหรือชั้นเดียวเช่นในการคำนวณหาสมาชิกของอาร์เรย์ 1 มิติทำได้ดังนี้จำนวนสมาชิกของอาร์เรย์ = (u-l)+1u คือค่าสูงสุด หรือ Upper boundl คือค่าต่ำสุด หรือ Lower bound ส่วน 2 มิติสามารถหาได้ดังนี้จำนวนสมาชิก = M x N

อาร์เรย์ 2 มิติมีลักษณะการกำหนดตำแหน่งแบบแถวและคอลัมน์รูปแบบของการประกาศตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติtype array-name[n][m];type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น เช่น int,float,char เป็นต้นarray-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อและเข้ากับชนิดของตัวแปรและจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วยn คือ จำนวนแถวของตัวแปรอาร์เรย์m คือ จำนวนคอลัมน์ของตัวแปรอาร์เรย์เช่น int num[3][5];

Structure โครงสร้างข้อมูลหมายถึง การที่นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ข้อมูลของนักศึกษาที่อาจประกอบด้วยชื่อ,นามสกุล,อายุ,เพศ,ชั้นเรียน มารวมกันและจัดทำเป็นโครงสร้างข้อมูล

struct คือ คำที่ใช้กำหนดโครงสร้างข้อมูล(ต้องมีเสมอ)name คือ ชื่อของโครงสร้างข้อมูลที่จะสร้างขึ้นtype var-1,type var-2 คือชื่อตัวแปรในกลุ่มโครงสร้างข้อมูลstruct-variable คือชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้างที่ต้องการสร้างขึ้นจะมีลักษณะโครงสร้างภายในเหมือนกับโครงสร้างข้อมูลที่กำหนด

ตัวอย่าง struct student student1;การอ้างถึงสมาชิกในตัวแปรชนิดโครงสร้างstruct-name.variable-namestruct-name คือ ชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้าง (ไม่ใช่ชื่อโครงสร้าง). คือเครื่องหมายขั้นระหว่างชื่อตัวแปรชนิดโครงสร้างกับตัวแปรที่เป็นสมาชิก variable-name คือชื่อของตัวแปรที่เป็นสมาชิกการกำหนดข้อมูลให้ตัวแปรชนิดโครงสร้างเราสามารถกำหนดได้เหมือนตัวแปรทั่วไปแต่ต้องอ้างอิงถึงสมาชิกให้ถูกต้อง เช่น student1.age = 15;student1.sex = 'M'; กรณีถ้าเป็นอาร์เรย์ของตัวแปรชนิดโครงสร้างสามารถเขียนได้ดังนี้ student1[0].age = 15;

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS01 16/06/52

ปฐมนิเทศ

โครงสร้างข้อมูล (DATA STRUCTURE)

ผู้สอน : อาจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์

E-mail :
phorramatpanyaprat@hotmail.com

การเก็บคะแนน 100 แบ่งออกเป็น60:40

*ความสำคัญของวิชาโครงสร้างข้อมูล*

โครงสร้างข้อมูล หมายถึง ลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. หน่วยข้อมูล (Data Item) หมายถึงส่วนที่เล็กที่สุดของข้อมูล เช่น ตัวเลข ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ จะยังไม่มีความหมายในตัวเอง เล่น เลข 9 อักษร ก เป็นต้น
2. ฟิลด์ข้อมูล (Data Field) หมายถึง การนำเอาหน่วยข้อมูลที่สำคัญและต้องการศึกษามาไว้ด้วยกัน เพื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ชื่อ - สกุล คะแนนการสอบครั้งที่ 1 เงินเดือน ซึ่ง ชื่อ สกุล และเงินเดือน คือ 1 ฟิลด์
3. เรคอร์ดข้อมูล (Data Record) หมายถึง การนำฟิลด์หลายฟิลด์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักศึกษาแต่ละคน จะมีข้อมูล ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนคือ 1 เรคอร์ด
4. แฟ้มข้อมูล (Data File) เกิดจากการนำระเบียนหรือเรคอร์ด หลาย ๆ เรคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันในด้านใดด้านหนึ่งมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลของนักเรียนห้องหนึ่งจำนวน 20 คน ทุกคนต่างก็มีข้อมูล คือ ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ศาสนา ข้อมูลของนักเรียนทั้งหมดคือ แฟ้มข้อมูล
5. ฐานข้อมูล (Data base) เกิดจากการนำแฟ้มหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกันโดยที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มจะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ก็ตาม ทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน และสะดวกรวดเร็วในการใช้งานสอนการสร้าง

blogger ก่อนที่จะสร้าง Blog ต้องมี E-mail ของ gmail ก่อน

โดยการตั้ง ชื่อ E-mail คือ u ตามด้วยรหัสประจำตัว

เช่น
u50132792050@gmail.com

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Record 23/6/52

#include <stdio.h>
#include <string.h>
void main()
{
struct notebook
{
char notebook_shop[20];
char customer[20];
float notebook_apple_max_book_air;
float notebook_hp_s513;
float notebook_toshiba_t242;
float notebook_acer_s112;
int insurance_notebook;
float total;
};
struct notebook my;
strcpy(my.notebook_shop,"OK_Computer");
strcpy(my.customer,"supphachai");
my.notebook_apple_max_book_air=50000;
my.notebook_hp_s513=35900;
my.notebook_toshiba_t242=39900;
my.notebook_acer_s112=30000;
my.insurance_notebook=1;
my.total=155800;

printf(" ----------OK_Computer----------\n\n");
printf(" notebook_shop : %s\n\n",my.notebook_shop);
printf(" customer : %s\n\n",my.customer);
printf(" notebook_apple_max_book_air : %.2f\n\n",my.notebook_apple_max_book_air);
printf(" notebook_hp_s513 : %.2f\n\n",my.notebook_hp_s513);
printf(" notebook_toshiba_t242 : %.2f\n\n",my.notebook_toshiba_t242);
printf(" notebook_acer_s112 : %.2f\n\n",my.notebook_acer_s112);
printf(" notebook_benq_q599 : %d\n\n",my.insurance_notebook);
printf(" total : %.2f\n\n",my.total);
}

สิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนา

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ประวัติ

นายศุภชัย ลีวรางกุล รหัสประจำตัว 50132792050

Mr.Supphachai Leevarungkul

หลักสูตร การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

E-mail :
u50132792050@gmail.com